เครื่องปรับอากาศสำหรับบ้านพักอาศัย ประด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ที่สำคัญ ดังนี้
- แผงทำความเย็น (Cooling coll) ทำหน้าที่ รับความร้อนจากอากาศภายในห้องปรับอากาศ
- คอมเพรสเซอร์ (Compressor) ทำหน้าที่ เพิ่มความดันสารทำความเย็น
- แผงท่อระบายความร้อน (Condensing coll) ทำหน้าที่ ระบายความทิ้งสู่บรรยากาศภายนอกบ้าน
- พัดลมส่งลมเย็น (Blower) ทำหน้าที่ หมุนเวียนอากาศในห้องปรับอากาศ
- พัดลมระบายความร้อน (Condensing fan) ทำหน้าที่ หมุนเวียนอากาศภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น
- แผ่นกรองอากาศ (Filter) ทำหน้าที่ กรองฝุ่นละออง
- หน้ากากกระจายลมเย็น (Louver) ทำหน้าที่ กระจายลมเย็นไปยังพื้นที่ต่าง ของห้องอย่างทั่วถึง
- อุปกรณ์ควบคุมสารทำความเย็น (Metering device) ทำหน้าที่ ควบคุมการป้อนสารทำความเย็น
- อุปกรณ์ควบคุณการทำงาน ทำหน้าที่ ควบคุม การเปิด-ปิดเครื่อง ตั้งค่าอุณหภูมิห้อง ความเร็วพัดลมเป็นต้น อุปกรณ์ควบคุมนี้อาจติดตั้งอยู่ที่ตัวเครื่องปรับอากาศเองหรือแยกเป็นอุปกรณ์ต่างหาก เพื่อใช้ในการควบคุมจากระยะไกล (Remote control) ภายในห้องปรับอากาศ
หลักการทำงานของเครื่องปรับอากาศ
เมื่อเราเปิดเครื่องปรับอากาศแล้ว สารทำความเย็นที่เหลวจะไหลผ่านอุปกรณ์ควบคุมสารทำความเย็นเข้าไปที่แผงท่อทำความเย็นซึ่งติดตั้งอยู่ภายในห้อง พัดลมส่งลมเย็นจะหมุนเวียนอากาศร้อนและชิ้นภายในห้องผ่านแผ่นกรองอากาศ ซึ่งติดตั้งอยู่ด้านหน้าแผงท่อทำความเย็นเพื่อกรองฝุ่นละออง อากาศร้อนนี้จะถ่ายเทความร้อนให้กับสารทำความเย็นทำให้อุณหภูมิและความชื้นของอากาศต่ำลง จากนั้นจะถูกส่งกลับเข้าห้องอีกครั้งผ่านหน้ากากากระจายลม
สำหรับสารทำความเย็นภายในแผงท่อทำความเย็น เมื่อรับความร้อนจากอากาศภายในห้องจะระเหยกลายเป็นไอและไหลเข้าสู่คอมเพรสเซอร์ ซึ่งจะอัดไอนี้ส่งไปยังแผงท่อระบายความร้อนที่ติดตั้งอยู่นอกตัวอาคาร พัดลมระบายความร้อนจะดึงอากาศภายนอกมาระบายความร้อนออกจากสารทำความเย็น ทำให้ไอสารทำความเย็นกลั่นตัวกลับเป็นของเหลวอีกครั้ง ก่อนไหลไปยังอุปกรณ์ป้อนสารทำความเย็น วนเวียนเป็นวัฏจักรเช่นนี้
เมื่ออุณหภูมิในห้องลดจนถึงระดับที่ตั้งไว้ อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิจะส่งสัญญาณให้คอมเพรสเซอร์หยุดทำงานชั่วขณะหนึ่งอย่างไรก็ตามพัดลมส่งลมเย็นยังคงทำหน้าที่ต่อไป จนเมื่ออุณหภูมิภายในห้องเริ่มสูงขึ้น อุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ จะส่งสัญญาณให้คอมเพรสเซอร์ทำงานอีกครั้ง