Jewels คืออะไร เอาไว้ทำอะไร คนรักนาฬิกา นักสะสมต้องรู้ หลายๆท่านที่แวะเข้ามาอ่านในที่นี้ไม่ว่า ชายหรือหญิง คงชอบนาฬิกากันทั้งนั้น สงครามนาฬิกาในปัจจุบันรุนแรงมากกว่าแต่ก่อน สมัยนี้มีนาฬิกานับพันนับหมื่นยี่ห้อ พูดได้ได้ว่ามีนาฬิกาใหม่ๆนับสิบนับร้อยแบบเกิดขึ้นทุกวัน ซึ่งเจ้านาฬิกาสมัยนี้แบ่งหลักๆได้สองแบบคือ แบบเข็ม และแบบตัวเลข ไม่รวมไอ้แบบที่ต้องมานั่งเง็งแปลความหมาย อย่างเช่นนาฬิกา digital เลขฐานสอง 0-1 ซึ่งเท่แต่อาจจะโดนแดกได้ครับ (กี่โมงแล้ววะครับ เอ่อแปปนะครับพี่ 010101 $%$^%^%$^ คิดๆๆ ไม่ตอบซักที)
นาฬิกาข้อมือแบบมีเข็มแบ่งได้เป็น 2 ระบบ
ซึ่งนาฬิกาแบบเข็มก็แบ่งได้สองแบบหลักๆ คือ Quartz กับ Automatic และสมัยนี้มีลูกผสมออกมาเป็นกึ่ง Automatic Quartz ซึ่งเอากลไกมาแปลงพลังงานสะสมในแบตเตอรี่แล้วส่งให้ step motor ไปหมุนกลไกเข็มนาฬิกาอีกที สำหรับผู้ที่ชื่นชอบ Automatic คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของ ความเนียนในการเดินของเข็มวินาที และ กลไกสวยงามที่มักจะโป้เปลือยให้เห็น ทีนี้หลายท่านอาจจะสงสัยว่าหลายเรือนชอบเขียนโฆษณา อวดอ้างสรรพคุณว่า ของข้า 21 jewels เฮ้ยข้า 23 jewels เหอะๆๆ ข้า 83 jewels เฟร้ย แล้วไอ้จีวร เอ้ยจีเวล พวกนี้มันหมายถึงอะไรล่ะ
Jewels คืออะไร หน้าที่ของ Jewels
พล่ามมานานกว่าจะเข้าเรื่อง เจ้า Jewel พวกนี้เกิดขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่าต้องการที่จะลดความฝืด (friction) ในกลไก ซึ่งประกอบด้วย เฟือง barrel มากมายหลายตัว แต่ปางก่อนเจ้าเฟืองเหล่านี้จะถูกล็อคให้อยู่ในร่อง ด้วยโครงเหล็กภายในธรรมดาของตัวนาฬิกาและรองด้วยเหล็กด้วยกัน (โปรดนึกภาพตาม)
ข้อเสียก็คือมันฝืดไม่คล่อง ไอ้ความฝืดนี้เป็นเหตุให้ นาฬิกาเราเมื่อใช้ไปเรื่อยๆ ความเที่ยงตรงจะลดลงไปตามเวลา และกลไกที่เป็นส่วนเคลื่อนจะ wear จนเราต้องถอดมาล้างปัดๆ หรือมันสึกหรอไปเรื่อยๆจนเจ๊งไปในที่สุด และต้องส่งซ่อมเปลี่ยน เนืื่องจากการเสียดสีนี้เอง
แต่ในประมาณปี 1702 ก็มีช่างทำนาฬิกาที่ชื่อ นายนิโคลัส ฟาติโอ ได้คิดค้นที่จะหาอะไรมาเจ้าเฟืองเหล่านี้จะถูกล็อคให้อยู่ในร่อง แต่ให้มีความฝืดน้อยที่สุด นั่นก็คือใช้วัสดุที่มีความแข็งมั่กๆ มารองรับชิ้นส่วนพวกนี้ ความแข็งทำให้สัมประสิทธิ์แรงเสียดทาน้อยลง ว่ากันว่า สปส (ไม่ใช่ สปช นะครับ) แรงเสียดทานของ กลไกแท่นรองทองเหลืองคือ 0.35 ในขณะที่ กลไกบนแท่นรอง sapphire คือ 0.1-0.15 ซึ่งมันน้อยกว่ากัน ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเพชรก็น้อยลงไปอีก แต่ปัจจุบันนิยมใช้วัสดุสังเคราะห์หรือไม่ก็อัญมณี พวกทับทิมมาใช้ เราจึงเห็นนาฬิกาโป๊ๆ เปลือยหลังกันเต็มมีจุดแดงจ้ำๆ สีทับทิมหรือเป็นทับทิม ซึ่งจุดเหล่านั้นคือ Jewel นั่นเอง
ตำแหน่งของ Jewels
โดยตำแหน่งของ jewel ต่างๆ ส่วนใหญ่จะอยู่ตามจุดหลักๆ ตามภาพด้านล่าง
- มี basic jewels อยู่ 7 ตัวที่ส่วนยึดด้านข้างกันหลุด (part of the escapement) และส่วน balance รวมถึงใส่เจ้า cap and hole jewels บนทั้งด้านบนและล่างของตัว balance wheel (รวมเป็น 4), และมี pallet jewels 2 ตัว roller jewel อีกตัว
- และก็ใส่อีก 8 ตัว กลายเป็น 15 jewels ก็คือเจ้า jewels สำหรับส่วนที่เคลื่อนที่เร็วของชุดเกียร์ (fast moving part of the gear train)
- และก็ใส่อีก 2 ตัว กลายเป็น 17 jewels คือ jewels บน center wheel
- และก็อีก 2-4 ตัว กลายเป็น 19-21 jewels คือ cap jewels บน escape wheel และ pallet fork
jewel ที่มี ระบบ Shock protection
นอกจากนี้นาฬิกาออโต้บางเรือนที่มีราคาแพงจะใช้ jewel ที่มี ระบบ Shock protection เพื่อรองรับแรงกระแทกที่จะมีผลต่อความเสียดทานที่จะทำให้เกิดการสะดุุดและคลาดเคลื่อนของกลไก ดังรูป
คำถามคือ มี jewel เยอะๆมันดีใช่มั้ยล่ะคับ ?
ไม่แน่ดอกเอ้ย!!!! นั่นก็เพราะว่า jewel ในปัจจุบันไม่ได้ราคาแพงอะไร แต่ไม่ได้หมายความว่ามี jewel เยอะๆจะดีเสมอไป ขึ้น อยู่กับวัสดุมากกว่าซึ่งในนาฬิกาแพงๆ มักใช้ jewel ที่มีวัสดุที่ดีทำให้มีราคาแพงตามไปด้วย แต่ผู้ซื้อมักรู้แค่ว่า jewel มีแล้วดี ฉะนั้นมีเยอะๆยิ่งดี มันจึงกลายเป็นจุดขายไปหลอกผู้ซื้อว่าใส่ more jewel, more good (better นั่นแหละ) น่าจะพูดว่า more jewel, more price ม๊อ ม๊อ ….
ทั้งนี้เพราะ jewel ที่จำเป็นในกลไกของนาฬิกาออโต้ในปัจจุบัน มีประมาณ 21-27 จุดเท่านั้นเอง ไอ้ที่ใส่เพิ่มมาในนาฬิกาบางรุ่นว่า 83 jewel ที่เพิ่มมามันเป็น Non-Functional Jewels ซะเกือบหมดใส่เพื่อให้สวยงามซะมากกว่า ไม่ได้มีผลใดๆต่อกลไกการทำงานครับ หรือแม้กระทั่งนาฬิกา low grade (มี jewel น้อย) แต่อยากขายแพงเช่น มี jewel อยู่จริง 10 ก็หาจุดใส่ให้มันครบ 19 หรือ 21 ตามแบบพิมพ์นิยมเค้าทำเพื่อ อัพราคาของของตนเอง
ในภาพนี้ปกติจะมี jewel ปิดอยู่ เราได้เอาออกเพื่อให้เห็นจุดยอดของ escape pivot (ไอ้แกนสีเงินๆ) ซึ่งยึดด้วยโครงทองเหลืองอยู่แล้ว ดังนั้น jewel ที่แปะอยู่ด้สนบนไม่ได้ช่วยอะไรเลย
Source : credit คุณ Saven germanboran.com